กิจกรรมจิตศึกษามีการจัดใน 2 รูปแบบดังนี้
รูปแบบที่ 1 จัดกิจกรรมในคาบเวลาของ “จิตศึกษา”
โรงเรียนสามารถจัดใช้เวลาสำหรับกิจกรรมจิตศึกษาเพื่อมุ่งเป้าหมายพัฒนาปัญญาภาในให้กับผู้เรียนไว้โดยเฉพาะ ซึ่งควรใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก่อนเรียนในภาคเช้าและ 15 นาทีก่อนเริ่มการเรียนในภาคบ่าย ทั้งนี้จะได้คุณค่าเพิ่มตรงที่กิจกรรมจิตศึกษายังเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางกายและใจให้กับผู้เรียนก่อนเรียนไปด้วยในตัว และ อีกช่วงหนึ่งอาจจัดตอนสิ้นวันโดยใช้เวลาประมาณสัก 20-30นาที เพื่อให้ทุกคนได้กลับมาสู่ความสงบ กลับมาสู่ตัวเอง แล้วใคร่ครวญและสะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งวัน ก่อนการกลับบ้าน
รูปแบบที่ 2 การบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตศึกษาในหน่วยการเรียนหลัก
ศาสตร์ (เนื้อหา) / ตัวอย่างกิจกรรม
รูปแบบที่ 1 จัดกิจกรรมในคาบเวลาของ “จิตศึกษา”
โรงเรียนสามารถจัดใช้เวลาสำหรับกิจกรรมจิตศึกษาเพื่อมุ่งเป้าหมายพัฒนาปัญญาภาในให้กับผู้เรียนไว้โดยเฉพาะ ซึ่งควรใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก่อนเรียนในภาคเช้าและ 15 นาทีก่อนเริ่มการเรียนในภาคบ่าย ทั้งนี้จะได้คุณค่าเพิ่มตรงที่กิจกรรมจิตศึกษายังเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางกายและใจให้กับผู้เรียนก่อนเรียนไปด้วยในตัว และ อีกช่วงหนึ่งอาจจัดตอนสิ้นวันโดยใช้เวลาประมาณสัก 20-30นาที เพื่อให้ทุกคนได้กลับมาสู่ความสงบ กลับมาสู่ตัวเอง แล้วใคร่ครวญและสะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งวัน ก่อนการกลับบ้าน
รูปแบบที่ 2 การบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตศึกษาในหน่วยการเรียนหลัก
ศาสตร์ (เนื้อหา) / ตัวอย่างกิจกรรม
1. การเรียนรู้จักรวาลวิทยา (Cosmology) เพื่อให้เห็นหรือตระหนักรู้ว่าตัวเราเล็กนิดเดียวโลกเราเล็กนิดเดียวได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์จักรวาลประวัติศาสตร์อันยาวนานของโลกและการผ่านช่วงเวลาต่างๆของโลกการกำเนิดสิ่งมีชีวิตและการค้นหาเจตจำนงที่มีความหมายของการกำเนิดสิ่งต่างๆรวมทั้งตัวเอง
ตัวอย่างกิจกรรมดูดาวดูพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกสารคดีการกำเนิดมนุษย์หรือการเกิดโลกและจักรวาลเรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นฝนดาวตกสึนามิแผ่นดินไหว
2. การเรียนรู้และสัมผัสนิเวศแนวลึก (Deep Ecology) เพื่อจะได้ตระหนักว่าจักรวาลหรือโลกคือศูนย์กลางไม่ใช่มนุษย์สิ่งต่างๆมีคุณค่าในตัวไม่ได้มีคุณค่าเพราะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกสิ่งมีประโยชน์การนำสิ่งที่คิดว่าไม่มีประโยชน์มาสร้างให้เป็นประโยชน์การดำรงอยู่อย่างสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆอย่างเป็นหนึ่งเดียว
ตัวอย่างกิจกรรมการดูนกหรือสังเกตพฤติกรรมพืช-สัตว์การจัดการของเสียให้มีคุณค่าการใช้ประโยชน์จากสิ่งพื้นๆการมองหาคุณค่าจากสิ่งที่ไม่มีค่าการฟังเสียงจากธรรมชาติ
ตัวอย่างความรู้สึกเชิงระบบนิเวศน์แนวลึก
ใบไม้ขอนไม้ทิ้งเกลี่ยเรี่ยลาดต้นไม้หลากหลายพันธุ์เบียดแบ่งแสงกันเห็ดราซอนไซกับกิ่งใบไม้ผุเรียกหมู่มดปลวกแมลงมาหาอาหารและทำรังนกเล็กๆก็พลอยมีอาหารและที่หลบภัยแม้ว่าที่นี่จะเป็นที่รกเรื้อไร้ระเบียบแต่กลับเป็นระบบที่จัดการตนเองและเกื้อกูลกันเห็ดรารู้ว่าจะหาขอนไม้ผุได้จากที่ไหนส่วนมดปลวกก็ทำหน้าที่ตนเองโดยไม่มีใครสั่ง
3. การร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเช่นกิจกรรมทางศาสนาพิธีกรรมบางอย่างกิจกรรมการสวดมนต์การภาวนาฝึกจิตภาวนาแบบทอเลน(เปลี่ยนความเลวร้ายให้บริสุทธิ์โดยหายใจเข้าเอาพิษร้ายแห่งความเกลียดชังความกลัวความโหดร้ายเข้าไปหายใจออกทดแทนความชั่วร้ายเหล่านั้นด้วยความดีงามเช่นความกรุณาและอโหสิกรรม) การสร้างศรัทธาต่อชีวิตหรือบางสิ่งบางอย่างที่มีความหมายต่อตนหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกโรงเรียนเช่นกิจกรรมเดินทางไกลเพื่อเพิ่มขีดความอดทนทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายกิจกรรมการปลีกวิเวก (Retreat) ไกลจากผู้คนใกล้ชิดธรรมชาติสงัดสงบลำพังเช่นเข้าค่ายอนุรักษ์ได้อยู่มุมเงียบๆตามลำพังบนบ้านต้นไม้การเดินทางไกล
4. การได้ปฏิบัติงานศิลปะดนตรีหรือการละครเพื่อการเข้าถึงความรู้สึกอันละเอียดอ่อนด้านในของมนุษย์
5. การได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางสังคมจิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์เช่นอาสาสมัครช่วยสอนหนังสือน้องในโรงเรียนหรือโรงเรียนอื่นๆ
6. การได้ใช้กิจกรรมในการรับรู้และการรับฟังอย่างลึกซึ้งที่เป็นการสื่อสารแนวราบเน้นการฟังอย่างมีคุณภาพไม่เน้นการตัดสินกระบวนการนี้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดปัญญาร่วม
7. การได้ทำกิจกรรมของหลักสูตรซ่อนซึ่งไม่มีการกำหนดเป้าหมายเวลาเครื่องมือหรือการวัดผลใดๆไว้เลยเช่นงานอดิเรกการเล่นอิสระการปะทะกับสังคมและสิ่งแวดล้อมการกลับไปสู่วัยเด็กอันบริสุทธิ์
ขั้นตอนกิจกรรมจิตศึกษา 20 นาทีก่อนเรียนภาคเช้า
ขั้นตอนกิจกรรมจิตศึกษา 20 นาทีก่อนเรียนภาคเช้า
กิจกรรมเริ่มต้น (2-4 นาที)
ครูและนักเรียนนั่งลอมวงกลมเป็นวงเดียวเพื่อเปิดพื้นที่เข้าหากัน เพื่อให้การแสดงออกต่อกันเป็นไปอย่างเปิดเผยด้วยภาษาพูดและภาษากาย หากพื้นที่ไม่เพียงพอก็จัดให้เด็กนั่งตามเหมาะสมแต่ให้พยายามไห้ทุกคนได้มองเห็นกันและกันให้มากที่สุด และไม่เบียดชิดกันเกินไป หรือ ครูอาจจัดนอกห้องเรียนใต้ร่มไม้ที่มีพื้นที่โปร่งสบาย ให้ผู้เรียนที่คนรู้สึกผ่อนคลายไม่รู้สึกว่าถูกบังคับหรือถูกคุกคาม
กิจกรรมเพื่อการมีสติฝึกฝนให้กลับรู้ตัวกับสิ่งที่ทำเช่น กำหนดการรับรู้ที่ลมหายใจเข้าออก รับรู้การเคลื่อนไหวของนิ้วหรือมือ การรับฟังเพื่อแยกแยะเสียงธรรมชาติที่อยู่รอบตัว
กิจกรรมหลัก (10-15 นาที)
เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองและสรรพสิ่ง เพื่อการค้นลึกเข้าไปในตนแล้วสะท้อนตนเองออกมา เพื่อให้เห็นคุณค่าของคนอื่นและการเคารพกันและกัน เพื่อฝึกสมาธิ เป็นต้น และในการจัดกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กันของกลุ่มคนที่ทำ
กิจกรรมจบ (1-3 นาที) ให้ทุกคนได้มีโอกาสขอบคุณคนอื่นหรือสิ่งต่างๆ และให้ได้มีโอกาสEmpowerกันและกัน